top of page

โรงเรียนวัดสลักเพชร
โรงเรียนเปลี่ยนแปลงเชิงระบบด้วย
นวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC
และภาษาไทยผ่านวรรณกรรม

โรงเรียนวัดสลักเพชร สพป.ตราด กำลังเปลี่ยนโฉมการศึกษาให้สุดปัง! ไม่ใช่แค่เรียนเพื่อสอบ แต่เป็นการเรียนเพื่อชีวิต ด้วยนวัตกรรม “7C – WSLP Model” และ “จิตศึกษา PBL ภาษาไทยผ่านวรรณกรรม PLC”ที่เน้นการลงมือทำ ฝึกคิด และเชื่อมโยงสู่โลกจริง ให้เด็ก ๆ เติบโตอย่างมีคุณภาพและพร้อมสู่อนาคต

เรียนรู้แบบใหม่ สนุกกว่าเดิม
โรงเรียนวัดสลักเพชรใช้ 2 แนวทางหลักในการพลิกโฉมการศึกษา:

รูปแบบที่ 1 ใช้นวัตกรรม 7C – WSLP Model สู่ความยั่งยืน พัฒนาโรงเรียนวัดสลักเพชร


กลยุทธ์ที่ 1 สร้างโอกาส (Create Opportunity)
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างความคิด (Create Ideals)
กลยุทธ์ที่ 3 สร้างงาน (Create Job)
กลยุทธ์ที่ 4 สร้างการเรียนรู้ (Create Learning)
กลยุทธ์ที่ 5 สร้างธุรกิจ (Create Business)
กลยุทธ์ที่ 6 สร้างเครือข่าย (Create Network)
กลยุทธ์ที่ 7 สร้างคน (Create People)
W – Whole School Approach หมายถึง การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ
S – Sufficiency Economy หมายถึง การดำเนินกิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
L – Lifelong Learning หมายถึง การเรียนรู้ตลอดชีวิต
P – Project หมายถึง โครงการ แผนหรือเค้าโครงตามที่กำหนดไว้ ทำให้เกิดกระบวนการทำงาน
ที่ไปด้วยกิจกรรมหลาย ๆ กิจกรรม

รูปแบบบริหาร

นวัตกรรม 7C – WSLP Model

รูปแบบที่ 2 ใช้นวัตกรรมจิตศึกษา PBL ภาษาไทยผ่านวรรณกรรม และ PLC 

ในการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของโรงเรียนวัดสลักเพชร
จิตศึกษา พัฒนาปัญญาภายใน
นวัตกรรมจิตศึกษา และ PBL เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดย โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ ในปี 2546 โดยครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง ผู้อำนวยการโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เป็นโรงเรียนต้นแบบที่พยายามสาธิตให้เห็นว่า “โรงเรียนไม่ใช่กะลาการศึกษา” ไม่ใช่เรื่องของการท่องจำการวัดประเมินผลไม่ใช่แค่ตัวเลขเกรดเฉลี่ยอันสวยหรู หรือตัดสินกันที่สอบได้หรือสอบตก แต่การศึกษาที่แท้คือกระบวนการพัฒนาตน ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงเผชิญปัญหา และค้นหาวิธีแก้ไขด้วยตัวของตัวเอง

PBL

นวัตกรรมจิตศึกษา 3  กระบวนทัศน์ จิตศึกษา 

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ (Problem-Base Learning : PBL) 

     เป็นการเรียนแบบบูรณาการ 5 กลุ่มสาระวิชาเข้าไว้ด้วยกัน คือ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  การงานอาชีพสุขศึกษา และพลศึกษา และศิลปะ โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก  เป็นบริบท (context) ของการเรียนรู้    เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา   รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษาไปพร้อมกันด้วย  

   การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก PBL เป็นการสอน ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตนเอง   จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการคิดหลายรูปแบบ เช่น การคิดวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

PBL วิเคราะห์ เชิงระบบ

วิเคราะห์เชิงระบบ วิชา PBL

ภาษาไทยผ่านวรรณกรรม

Time line ขั้นตอนการเรียนรู้ภาษาไทยผ่านวรรณกรรม

จิตศึกษา

PLC  ที่มีคุณภาพ

bottom of page